เมนู

ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ธรรมคือ
ความสุขอื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี ผู้มีจิต
ตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนทั้งคนอื่นและ
ตนเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิปโร ความว่า ชื่อว่าธรรม
คือความสุขนอกเหนือ คืออื่นจากสมาธิ ย่อมไม่มี.
พระโพธิสัตว์นั้น ครั้นเข้าป่าแล้วบวชเป็นฤๅษี ทำฌานและ
อภิญญาให้เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ 10

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ


1. กุฏิทูสกชาดก 2. ทุททุภายชาดก 3. พรหมทัตตชาดก
4. จัมมสาฏกชาดก 5. โคธชาดก 6. กักการุชาดก 7. กากาติชาดก
8. อนนุโสจิยชาดก 9. กาฬพาหุชาดก 10. สีลวีมังสชาดก.
จบ กุฏีทูสกวรรคที่ 3

8. โกกิลวรรค


1. โกกาลิกชาดก


ว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด


[622] เมื่อยังไม่ถึงเวลาที่จะพูด ผู้ใดพูดเกิน
กาลไป ผู้นั้นย่อมถูกทำร้ายดุจลูกนกดุเหว่า
ฉะนั้น.
[623] มีดที่ลับคมดีแล้ว ดุจยาพิษอันร้ายแรง
หาทำให้ตกไปทันทีทันใด เหมือนวาจาทุพ-
ภาษิตไม่.
[624] เพราะฉะนั้น บัณฑิตควรรักษาวาจาไว้
ทั้งในกาลควรพูดและไม่ควร ไม่ควรพูดให้
ล่วงเวลา แม้ในบุคคลผู้เสมอกับตน.
[625] ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นเบื้องหน้า มี
ปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นประจักษ์ พูดพอ
เหมาะในกาลที่ควรพูด ผู้นั้นย่อมจับศัตรูได้
ทั้งหมด ดุจครุฑจับนาคได้ ฉะนั้น.

จบ โกกาลิกชาดกที่ 1